EN TH

หลักการ และกรอบแนวคิดด้านความยั่งยืน

บริษัทฯ มีนโยบายการจัดการความยั่งยืน ที่ได้จากการบูรณาการแนวทางปฏิบัติ และมาตรฐานสากลด้านความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs , มาตรฐานการวัดคุณภาพองค์กร (International Organization for standardization : ISO) ได้แก่ ISO 9001 : 2015 มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และระบบมาตรฐานอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ISO 45001 และนอกจากนี้การนำผลการประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ด้านความยั่งยืน มาเป็นกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนระดับองค์กร โดยทางคณะทำงานฯ ได้นำหลักเกณฑ์คู่มือการรายงานความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน จัดทำโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาประเด็นสำคัญที่ต้องรายงานเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

UBE เชื่อว่าการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมอย่างยั่งยืน (Sustainable Value Creation) จะสนับสนุนให้ทุกส่วนบรรลุเป้าหมายที่ดีไปพร้อมกัน

การจัดการมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมกัน
การสร้างสรรค์ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ดี
สนับสนุนบุคลากร และเกษตรกรให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับ UBE

ในปี 2566 บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (บริษัทฯ) ยังคงยึดมั่นในการพัฒนา และการบริหารจัดการทางด้านความยั่งยืนขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบแนวคิดการสร้างความสมดุลระหว่าง 3 ปัจจัย ได้แก่ การทำให้ธุรกิจเติบโตมีกำไร (Profit) การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (Planet) และ การเกื้อกูลชุมชนสังคมรอบข้าง และพนักงานในองค์กร (People) ภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี

บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมอย่างยั่งยืน (Sustainable Value Creation) จะสนับสนุนให้ทุกส่วนบรรลุเป้าหมายที่ดีไปพร้อมกัน

การดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนี้ ได้กำหนดตัวชี้วัดที่สามารถติดตามและประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทในเครือทุกบริษัทฯ ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environment, Social, Governance) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่สะท้อนถึงบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และบริษัทฯ มีความมั่นใจว่านโยบายดังกล่าวจะได้รับการเอาใจใส่ ดูแลรับผิดชอบ และนำไปปฏิบัติได้ทั่วถึง โดยพนักงานและผู้บริหารทุกระดับชั้นของบริษัทฯ และบริษัทในเครือเป็นอย่างดี

นโยบายการพัฒนาความยั่งยืน

UBE ยังคงขับเคลื่อนวิสัยทัศน์องค์กร “Leading global organic and bio-based brand through technology and sustainable development” เพื่อสะท้อนเป้าหมายของธุรกิจ ควบคู่กับการกำหนดค่านิยมองค์กรให้ผู้บริหาร และพนักงานรับทราบ และร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้คำว่า “UBEYOND (ยู-บียอนด์)” ซึ่งมาจากการผสมคำว่า UBE คือชื่อย่อบริษัทฯ รวมกับคำว่า Beyond ที่นิยามในภาษาไทยในบริบทว่า “มากกว่าที่สิ่งตั้งเป้าหมายไว้” เพื่อใช้สื่อสารสร้างการรับรู้ให้พนักงานภายในองค์กร ผ่านการกระบวนการออกแบบค่านิยมองค์กรร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และพนักงาน พร้อมกันนี้ยังมีการส่งเสริม ESG DNA เพื่อให้พนักงานมีองค์ความรู้อย่างรอบด้าน เป็นแรงเสริมสำคัญที่จะทำให้การจัดการความยั่งยืนมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ UBEYOND ยังนำไปใช้ในการสื่อสารสู่ภายนอก เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตกว้างไกลกว่าที่มีอยู่เดิมในทุกมิติ โดยมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้มุ่งเน้นการจัดการความยั่งยืนอยู่ในกระบวนการทำงาน มีการส่งเสริมการเรียนรู้ “ESG Knowledge Package”ผ่านสื่อออนไลน์เพิ่มเติม เพื่อมให้ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักเรื่องการจัดการความยั่งยืนให้ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้มิติ ESG เป็น DNA ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ และเพิ่มศักยภาพของพนักงาน ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

“UBEYOND” นอกจากเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่ใช้สื่อสารภายในองค์กร ยังมีการใช้สื่อสารองค์กรไปยังกลุ่มเป้าหมายภายนอกเพื่อแสดงเจตนารมย์ในความมุ่งมั่นสร้างการเติบโตที่กว้างไกลกว่าเดิม จากธุรกิจพลังงาน และอาหารคือแป้งมันสำปะหลัง สู่การเป็นบริษัท Food Tech Company ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมบนหลักการดำเนินธุรกิจที่ครอบคลุมความยั่งยืนครบทุกมิติ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่การเติบโตที่กว้างไกลกว่า ใน 3 ด้าน กล่าวคือ

เป้าหมาย และกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน

จากการวางแนวคิดทางธุรกิจ “Beyond sustainability” เพื่อก้าวสู่ความองค์กรที่มีความยั่งยืนครบทุกมิติ นอกเหนือแนวความคิดตามหลักความสมดุล 3P ; PROFIT PEOPLE PLANET ในปี 2566 คณะทำงานขับเคลื่อนความยั่งยืนองค์กร ได้เชื่อมโยงคำว่า “UBE CARE” เพื่อจัดหมวดหมู่การดำเนินงานโครงการและวางแผนงบประมาณในการจัดการความยั่งยืนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการร่วมบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน (SDGs) เพื่อมั่นใจว่าการจัดการความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ครอบคลุม จึงมีการปรับปรุงกรอบแนวทางในการพัฒนาเป้าหมายความยั่งยืน ดังนี้

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ

ในปี 2566 บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ มีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนราคาของผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการส่งมอบสินค้า ที่ได้รับปัจจัยกดดันจากภายนอก โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนวัตถุดิบที่สูง และอุปทานมันสำปะหลังที่ขาดแคลนในพื้นที่ จากผลกระทบจากวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่ในจังหวัดอุบลราชธานี และพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้ช่วงฤดูกาลผลผลิตที่ออกมามีจำนวนลดลง และหมดเร็วกว่าทุกปี ประกอบกับอุปสงค์จากต่างประเทศชะลอตัว

เพื่อให้บริษัทฯ และคู่ค้าดำเนินการอย่างราบรื่นได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ภายใต้หลักบรรษัทภิบาลที่ดี ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีส่วนร่วมกับชุมชน และสังคม บริษัทฯ ได้มีการจัดทำช่องทางการรับฟังความคิดเห็น คำแนะนำ และประเด็นปัญหาที่พบจากคู่ค้า ในการพัฒนากระบวนการทำงานร่วมกัน ชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปีนี้มีการปรับระบบเทคโนโลยี โปรแกรมใหม่ๆภายในองค์กร มาลดต้นทุนเวลาในการทำงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แม่นยำถูกต้อง และรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่คู่ค้าในการดำนินธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแลกิจการที่ดี และสิทธิมนุษยชน มีการทบทวนจรรยาบรรณคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้ามีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาเป้าหมายด้านความยั่งยืนร่วมกันกับบริษัทฯ

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มุ่งมั่นดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวคิดการสร้างคุณค่าร่วมอย่างยั่งยืน และคำนึงถึงการบริหารจัดการความยั่งยืนของกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น การส่งเสริมการปลูก การจัดหาวัตถุดิบ ธุรกิจกลางน้ำ เช่น การผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดจำหน่ายไปยังบริษัทผู้ผลิตอาหาร และส่วนประกอบอาหาร และธุรกิจปลายน้ำ เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ และอาหารพร้อมทาน ให้ความสำคัญและคำนึงถึงความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เพื่อนำมาพัฒนา วางแผน และสามารถตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ สร้างคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืน

จากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความสำคัญ เป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เติบโตอย่างยั่งยืน บริษัทฯ ได้แบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียออกเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้า/ผู้บริโภค ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลานมัน เกษตรกร ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน คู่แข่ง สื่อมวลชน ซึ่งบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อตอบสนองประเด็น่ที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสนใจ และคาดหวัง ดังนี้

การสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ช่องทางการสื่อสาร/วิธีการสื่อสาร ประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสนใจ/คาดหวัง การตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปี 2566
1.ลูกค้า/ผู้บริโภค
  • สร้างช่องทางการสื่อสาร เพื่อลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามผลิตภัณฑ์จากทางบริษัท เช่น โทรศัพท์ เว็บไซต์ อีเมล เฟสบุ๊ค
  • สำรวจความต้องการของผลิตภัณฑ์
  • สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
  • ความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์
  • ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมทางการตลาดเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์ แพลตฟอร์มงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศออนไลน์
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของลูกค้า
  • สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
2. ผู้ถือหุ้น
  • ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นประจำปี
  • ข่าวประชาสัมพันธ์แถลงผลดำเนินงานทุกไตรมาส
  • รายงานประจำปี
  • ประชุมกับนักวิเคราะห์ (Analyst conference)
  • โทรศัพท์สายด่วน และอีเมลบริหาร โดย Investor Relation (IR)
  • เว็บไซต์
  • กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน
  • ผลการดำเนินงานและการเติบโตทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารงานด้วยความโปร่งใส
  • จ่ายเงินปันผลอย่างเหมาะสม
  • โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมิติ ESG
  • เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ เว็บไวต์ ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชน
  • การดำเนินการเข้าร่วมหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้แก่ CGR CAC ESG RATING
  • รับฟังความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาพัฒนาการดำเนินการ
3. พนักงาน
  • ปฐมนิเทศสำหรับพนักงานใหม่
  • สื่อสารประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมของบริษัทผ่านช่องทางสื่อสารภายใน เช่น บอร์ดประชาสัมพันธ์ อีเมล ไลน์
  • กิจกรรมองค์กรประจำปีสร้างความผูกพันกับพนักงาน
  • กิจกรรมประชุมพูดคุยระหว่างหัวหน้างานและผู้ใต้บังคับบัญชา (TOWNHALL)
  • โครงการสำรวจความพึงพอใจ และความผูกพันที่มีต่อบริษัท
  • โอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • การพัฒนาความรู้ความสามารถ รวมถึงทักษะการดำเนินชีวิต
  • ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการปฏิบัติงาน
  • การได้รับผลตอบแทนและการปฏิบัติแรงงานอย่างเป็นธรรม
  • ประเมินศักยภาพของพนักงานทุกปี
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPI
  • การกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน
  • จัดหลักสูตรการอบรมที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานพนักงาน
  • การปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กร
  • กิจกรรมสันทนาการประจำปีในรูปแบบภายใน และร่วมกับชุมชนภายนอก
4. ลานมัน
  • การประเมินความพึงพอใจของคู่ค้า
  • การให้ข้อมูลที่ทันสมัยและเป็น
  • ประโยชน์แก่คู่ค้า เช่น ขั้นตอนการดำเนินการค้า
  • การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและเก็บรักษาข้อมูลของคู่ค้า
  • ความรวดเร็วในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
  • จัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า
  • จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
5. เกษตรกร
  • การลงพื้นที่จัดกิจกรรมพูดคุยและจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาผลผลิต และสร้างคุณภาพชีวิตร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย
  • กิจกรรมอบรมประจำปีตามแผนงาน
  • ส่งเสริมความรู้ นวัตกรรมการปลูกมันสำปะหลัง เพื่อลดต้นทุน เพิ่มรายได้
  • การรับซื้อผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ และเป็นธรรม
  • ความร่วมมือกับภาครัฐ และเอกชนในการจัดโครงการอบรม และสร้างแปลงสาธิตร่วมกับเกษตรกร
  • จัดทำระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้าผ่านการทำสัญญาเกษตรกร
6. ผู้รับเหมา
  • การประเมินความพึงพอใจของบริษัทคู่ค้า
  • การให้ข้อมูลที่ทันสมัยและเป็น
  • ประโยชน์แก่คู่ค้า เช่น ขั้นตอนการดำเนินการค้า
  • การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและเก็บรักษาข้อมูลของคู่ค้า
  • ความรวดเร็วในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
  • จัดทำนโยบายและระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า
  • จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
  • กิจกรรมอบรมด้านความปลอดภัย
7. ชุมชน และองค์กรสาธารณกุศลต่างๆ
  • ร่วมกิจกรรมชุมชน ลงพื้นที่พูดคุย และจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
  • ประเมินความพึงพอใจชุมชน
  • กิจกรรมเยี่ยมชมโรงงาน
  • มีช่องทางในการสื่อสาร/สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนรอบโรงงาน ทั้งกรณีสถานการณ์ปกติ และเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชนเพื่อรับฟังความคิดเห็น สำรวจความต้องการ และศูนย์บริการข้อมูล และรับเรื่องข้อเสนอแนะ UBE CARE CENTER กรณีที่ชุมชนได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานของบริษัทฯ และมีการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแสการกระทำผิดและทุจริต และเก็บรักษาข้อมูลเป็นความลับ
  • ดำเนินธุรกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน
  • ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้ชุมชน
  • จัดทำโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
  • เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
  • บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์
8. หน่วยงานเครือข่ายภาครัฐ และภาคเอกชน
  • การประชุม
  • หนังสือราชการ
  • แผนการบูรณาการ และสนับสนุนวิทยากร กำลังคนในการจัดกิจกรรม
  • งานวิจัยแบบมีส่วนร่วมมุ่งเป้า
  • โครงการอบรม และสร้างแปลงสาธิตร่วมกับเกษตรกร
  • โครงการส่งเสริมความร่วมมือในภารกิจต่างๆ ระหว่างกัน
  • การบันทึกข้อตกลงร่วมกับภาคเอกชน
9. คู่แข่ง
  • กิจกรรมทางการตลาด
  • การแข่งขันที่เป็นธรรม
  • การแลกเปลี่ยนข้อมูลในงานแสดงสินค้า
10. สื่อมวลชน
  • อีเมล
  • โทรศัพท์
  • กิจกรรม
  • ประเด็นของข่าวสารที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และเป้าหมายการสื่อสารของสำนักข่าว
  • การเข้าร่วมกิจกรรมในโอกาสพิเศษ
  • การส่งข่าวประชาสัมพันธ์ประจำเดือน
  • กิจกรรมเยี่ยมชมกิจการจำนวน 3 กลุ่ม
  • กิจกรรมพบปะเนื่องโอกาสครบรอบ

การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืน

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางแบบมีส่วนร่วม และยั่งยืน โดยตอบสนองต่อประเด็นความต้องการและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควบคู่ไปกับการสร้างมูลค่าและคุณค่าต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จัดทำและทบทวนประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน โดยมีกระบวนการคัดเลือกประเด็นสำคัญจากความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มและข้อมูลภายนอกอื่นๆ ร่วมกับประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ ในปี 2566 บริษัทฯ จึงจัดอันดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีสาระสำคัญต่อบริษัทฯ ใหม่ อันเนื่องมา ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ผันผวน และผลกกระทบของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ทำให้มีการปรับประเด็นสาระสำคัญต่อบริษัทฯ เป็น 3 ประเด็นดังนี้

ด้านที่ 1 การพัฒนานวัตกรรม งานวิจัยและพัฒนา

UBE กำหนดค่านิยมองค์กร UBEYOND: อักษรย่อ N มาจาก INNOVATION คือ การสื่อถึงความเป็นองค์กรที่วางรากฐานด้วยนวัตกรรม ในปี 2566 UBE และบริษัทในเครือ ได้มีการทบทวนปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กลยุทธ์ ทางด้านการทำงานนวัตกรรม ให้ครอบคลุมตั้งแต่ต้นนำ้ ้ กลางนำ้ และปลายนำ้ ด้วยการจัดโครงสร้างองค์กรให้มีบุคลากรเพิ่มขึ้นภายใต้ ฝ่ายนวัตกรรมวิจัย และพัฒนา (ฝ่ายฯ) เพื่อมุ่งเน้นการทำงานแบบบูรณาการระหว่างภาครัฐ และเอกชนภายนอก โดยบริษัทกำหนดแนวทางปฏิบัติ และกลยุทธ์ด้านการพัฒนานวัตกรรม งานวิจัยและพัฒนา ผ่าน 3 Changes ด้านนวัตกรรมวิจัย และพัฒนา

  • C1 Challenge: Innovation Vision, Strategy
  • C2 Change: Action and key Stakeholder
  • C3 Champion: Innovation Product / Project
ด้านที่ 2 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม มีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพาในการใช้วัตถุดิบทางการเกษตร การวางแผนรับมือกับสภาพภูมิกาศเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ส่งผลทำให้ผลผลิตอาจไม้ได้ตามเป้าหมายในแต่ละปี บริษัทฯ จึงมีการวางแผนการรับมือสภาพภูมิอากาศด้วยการจัดการวัตถุดิบ และการแสวงหาโอกาสใหม่ในการยกระดับผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

ด้านที่ 3 การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือฯ ได้ตระหนักถึงกระบวนการดำเนินงานด้านบริหารห่วงโซ่อุปทาน ด้านการเลือกคู่ค้า การจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพ การระบุและประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า และอื่นๆ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ เน้นสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา และการเติบโตของธุรกิจ และการสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ควบคู่กับความยั่งยืน ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environment Social and Governance; ESG) ภายใต้นโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมุ่งหวังให้ธุรกิจอยู่ร่วมกับชุมชน และสังคมได้อย่างยั่งยืน