EN TH

สรุปรายงาน มาตรการแก้ไข กรณีเกิดเหตุการณ์คันกั้นบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 5 ของ บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ชำรุด

สรุปรายงาน มาตรการแก้ไข

กรณีเกิดเหตุการณ์คันกั้นบ่อบำบัดน้ำเสียบ่อที่ 5 ของ บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ชำรุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด

โทร. 089 962 6544 / 081 658 8274

1.คำสั่งคณะกรรมการฯ และประมวลภาพการประชุมการดำเนินงานของคณะกรรมการ

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบหมายให้คณะกรรมการอนุรักษ์ และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมพื้นที่ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่จังหวัดอุบลราชธานี (ตามประกาศแต่งตั้ง) เป็นผู้ดำเนินการติดตาม และมีมติการ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี จัดประชุมหัวหน้าส่วนราชการ โรงงาน เพื่อชี้แจงเหตุการณ์

และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการแก้ไขกรณีคันกั้นบ่อบำบัดน้ำเสีย ของบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด ชำรุด

2. ประมวลการประชุม  

 

3. สรุปแผนมาตรการแก้ไข ของบริษัทฯ                 

3.1 การซ่อมแซมคันดินบ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อที่ 5

          การซ่อมคันดินระยะสั้น

       

     แผนการซ่อมคันดินระยะยาว 

3.2 มาตรการกอบกู้ลำโดม แบ่งเป็น 3 ชุด ดังนี้

3.2.1 การเก็บกากตะกอนเศษไม้ ดำเนินการเก็บกากตะกอน เศษไม้ ระหว่างวันที่ 23 มี.ค. - 6 เม.ย. 2558

3.2.2 การเติมอากาศ เพื่อเพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำ

ลักษณะการเติมอากาศ ใช้อุปกรณ์เครื่องปั๊มน้ำ และเรือโดยเติมอากาศ 2 ลักษณะ ได้แก่

เครื่องเติมอากาศบนบก

 

เครื่องเติมอากาศกลางน้ำ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำจากชุมชนเครือข่ายคณะกรรมการฯ จำนวน 8 เครื่อง

ติดตั้งบนเรือเคลื่อนที่ 2 ลำ ลำละ 4 เครื่อง

 

3.2.3 การดูดตะกอนบริเวณจุดเกิดเหตุ : ปริมาณตะกอนในลำโดม จำนวน 60,000 ลูกบาศก์เมตร ประมาณการจากปริมาณน้ำเสียในบ่อบำบัดที่ไหลลงลำโดม จำนวน 500,000 ลบ.ม. ดำเนินการดูดตะกอนตั้งแต่วันที่ 2-23 เมษายน 2558 ตรวจสอบการดำเนินงานโดย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3.3 การชดเชยชาวประมงในพื้นที่ลงทะเบียนแจ้งประมงอำเภอ

            (รายชื่อมาจากรายงานลงทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบกับ ประมง อ.พิบูลมังสาหาร)

3.4 การตรวจคุณภาพน้ำ (ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ

            ข้อมูลจาก ฝ่ายสิ่งแวดล้อมบริษัทฯ

             แผนที่จุดเก็บตัวอย่างน้ำ บริเวณจุดเกิดเหตุ

3.5 การจัดการชลประทานเพื่อบริหารการไหลของน้ำด้วยฝายเขื่อนลำโดมใหญ่

สาเหตุของการจัดการประชุม

1. กรณีเกิดเหตุของโรงงานฯ ครั้งนี้ เพื่อป้องกันความวิตกกังวลในเรื่องการไหลของน้ำเสีย จึงนำข้อมูลการแก้ไขมาตรการต่างๆ ชี้แจงผ่านคกก. จัดการชลประทาน ก่อนการเปิดปิดน้ำตามกำหนดระยะเวลาประจำปี ทุกวันที่ 1 พ.ค.

2. ปัจจุบันลำโดมใหญ่พบปรากฏการณ์สาหร่ายบลูม เนื่องจากอากาศร้อน และน้ำนิ่ง เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของสาหร่าย จึงมีข้อเสนอให้เปิดประตูน้ำเพื่อให้น้ำเคลื่อนไหว แบบมีการบริหารจัดการ

3. ป้องกันปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมฉับพลัน

 

ภาพตำแหน่งประตูฝายลำโดมใหญ่ บ้านสร้างแก้ว เทศบาลโพธิ์ไทร อ. พิบูลมังสาหาร

สรุปมติ คณะกรรมการชลประทานฝายลำโดมใหญ่

      มติเห็นชอบ 40 เสียง จากผู้เข้าร่วมประชุม 54 คน ให้เปิดประตูเขื่อนจำนวน 2 บาน ระดับ10 ซม. เริ่มเปิดเขื่อนวันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2558 เวลา 08.00 น.พร้อมเฝ้าสังเกตการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

     กรณีไม่มีผลกระทบ : 1.วันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2558 เปิดประตูเขื่อนเพิ่มอีกจำนวน 2 บาน ระดับความลึก 10 ซม.เปิดประตูเขื่อนต่อเนื่องจำนวน 15 วัน

    2.วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม 2558 เริ่มขยับบานเพิ่มเติมทีละ 10 ซม.

    3.แขวนประตูเขื่อนให้พ้นน้ำ กรณีปริมาณน้ำฝนมาก

      กรณีมีผลกระทบต่อปลาในกระชัง : ปิดประตูเขื่อนทันที พร้อมตรวจสอบพื้นที่กระชังปลา

3.6 การรับฟังความคิดเห็นผ่านกิจกรรม และการประชุมของท้องถิ่น

               การประชุมชี้แจงชุมชน บ้านแก่งกอก ต.ไร่ใต้ อ.พิบูลมังสาหาร กำหนดการ : วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558

            เวลา 10.00-12.30 น สถานที่ : ณ ศาลาประชาคม หมู่ 10 บ้านแก่งกอก ต.ไร่ใต้

การประชุมชี้แจง ความคืบหน้าการดำเนินงานแก้ไข

วันที่ 12-15 เมษายน 2558 ลงพื้นที่ร่วมกิจกรรมร่วมกับชุมชนพร้อมชี้แจงข้อมูลและรายละเอียดให้กับชุมชนรับทราบ

ร่วมประชาคมสัญจรตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร วันที่ 22 - 29 เมษายน 2558 เวลา 08.00 น – เวลา 16.00 น 

ร่วมประชาคมสัญจรตำบลนาดี อำเภอนาเยีย วันที่ 22 - 23 เมษายน 2558 เวลา 18.00 น – เวลา 21.00 น. 

ร่วมประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านสัญจรตำบลไร่ใต้ บ้านลุคุ หมู่ 11 ตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร

 วันอังคารที่ 5 เมษายน 2558

 เวลา 09.00 น – เวลา 12.00 น

 ณ ศาลาเอนกประสงค์

3.7 การดำเนินงานต่อเนื่อง ของคณะกรรมการโครงการอุรักษ์ลำโดมระดับชุมชน

หลักการและเหตุผล : จากการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่โรงงานมุ่งมั่นดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม นั้น ได้กำหนดขอบเขตที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อ.นาเยีย / อ.พิบูลมังสาหาร / อ.สว่างวีระวงศ์ และ อ.วารินชำราบ โดยประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง คือ แหล่งทรัพยากรน้ำ อากาศ การคมนาคม และคุณภาพดิน เป็นสำคัญ ดังนั้น เพื่อให้การทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ และดำเนินงานในรูปแบบเครือข่าย ทางโรงงานจึงได้เรียนเชิญจัดตั้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประเภททรัพยากรแหล่งน้ำ ลำโดมใหญ่ รายละเอียดโครงการ ดังนี้

โครงสร้างเครือข่ายโครงการ

กิจกรรมตามมติที่ประชุม

ประมวลภาพกิจกรรมประชุมเครือข่าย

4. ปรากฏการณ์สาหร่ายบลูมปี 2557

ข้อมูลจาก โครงการศึกษาวิจัยปราฎการณ์ทางธรรมชาติในแหล่งน้ำ ลำโดมใหญ่(ระยะที่ 1) ของคณะวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี กรณีศึกษา : สาเหตุการเจริญมากกว่าปกติของสาหร่ายและการตายของปลาในลำโดมใหญ่

ลำโดมใหญ่ ต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาดงรัก ไหลขึ้นเหนือผ่านอำเภอน้ำยืน อำเภอเดชอุดม ลงสู่แม่น้ำมูลที่บ้านปากโดม อำเภอพิบูลมังสาหาร มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร

คณะผู้ดำเนินโครงการวิจัย : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ผลการตรวจพบสาหร่ายเด่นที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ

โดย ดร.ปริญญา มูลสิน อาจารย์สาขาชีววิทยา

กระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง (บริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด)

หัวมันสำปะหลังสด : โรงแป้งฯ จะนำหัวมันสด (ชนิดขม) มาผลิตแป้งมันเกรดอาหาร (ทำขนม ราดหน้า วุ้นเส้น เส้นปลาทาโร่ เส้นมาม่า ฯลฯ) และเกรดอุตสาหกรรม

(เคลือบผิวกระดาษ) โดยมีกระบวนการผลิตและของเสียดังต่อไปนี้

ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต และน้ำเสียจากกระบวนการผลิต   

ระบบ UASB (Upflow Anaerobic Sludge Blanket)

รับบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง ปริมาตร 5,000 ลบ.ม. / วัน

ระบบ MUR (Methane Upflow Reactor)

รับบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอล

ปริมาตร 5,000 ลบ.ม. / วัน

ระบบ ABR (Anaerobic Baffled Reactor)

รับกากมันสำปะหลังจากกระบวนการผลิตเอทานอล 300 ตัน/วัน กระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง 150 ตัน/วัน

และยังรับน้ำเสียจากโรงผลิตแป้งมันสำปะหลังอีก 5,000 ลบ.ม./วัน

ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

1. ใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อในหม้อน้ำต้มน้ำ (Boiler) ของโรงแป้งมันสำปะหลัง (อบแป้ง) และโรงงานเอทานอล (เชื้อเพลิงต้มน้ำ)

2. ผลิตไฟฟ้า : โรงแป้งมันสำปะหลัง ผลิตได้ 1.9 เมกกะวัตต์ จำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และโรงงานเอทานอล ผลิตได้ 5.6 เมกกะวัตต์ ใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนภายในของบริษัทฯ

6. ประมวลกิจกรรมเพื่อสังคมของทางบริษัทฯ ที่ดำเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน และยังมุ่งมั่นดำเนินการตลอดไป

อาทิ ได้สร้างคน จ้างงาน สร้างอาชีพ ส่งเสริมวัฒนธรรมในท้องถิ่น ส่งเสริมเกษตร จัดอบรมวิชาการความรู้ต่างๆ เปิดบ้านเป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้เยาวชนยี่ยมชมโรงงาน ช่วยเหลือชุมชนทั้งเชิงรุก และเชิงรับ (จัดโครงการมอบเครื่องกรองน้ำ ช่วยนำเครื่องจักรซ่อมแซมตามร้องขอ ) ช่วยเหลือชุมชนเมื่อเกิดอุทกภัย และวาตภัยต่างๆ สร้างเศรษฐกิจในสังคมด้วยการจ่ายภาษีบำรุงท้องถิ่น ฯลฯ ที่ทำจริง ลงพื้นที่จริง คิดจริง