ประวัติบริษัท
- 2566
- 2565
- 2564
- 2563
- 2562
- 2561
- 2560
- 2559
- 2558
- 2557
- 2556
- 2555
- 2554
- 2553
- 2552
- 2551
- 2550
- 2549
ผลิตภัณฑ์ฟลาวมันสำปะหลังภายใต้แบรนด์ ทาสุโกะ (Tasuko) ได้รับรางวัลและการรับรองด้านรสชาติ “2566 Superior Taste Award” จากสถาบัน “International Taste Institute” ประเทศเบลเยียม ใน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ฟลาวมันสำปะหลังออร์แกนิค 100% ได้รับรางวัล 2566 Superior Taste Award 3 ดาว, 2) แป้งทอดกรอบ รสสไปซี่ ได้รับรางวัล 2566 Superior Taste Award 2 ดาว, 3) ฟลาวมันสำปะหลังสำเร็จรูปสำหรับทำแพนเค้ก ได้รับรางวัล 2566 Superior Taste Award 2 ดาว, และ 4) แป้งทอดกรอบ รสกลมกล่อม ได้รับรางวัล 2566 Superior Taste Award 1 ดาว
-
เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฟลาวมันสำปะหลังสำหรับตลาดในประเทศ ภายใต้แบรนด์ ทาสุโกะ (Tasuko) ภายใต้ บจ. อุบลซันฟลาวเวอร์ หรือ UBS ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งในประเทศไทยและในระดับสากล ปราศจากกลูเตน และมีไฟเบอร์สูง โดยเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบได้แก่ ฟลาวมันสำปะหลังอเนกประสงค์ออร์แกนิค 100% (Organic Cassava Flour All Purpose) และ ฟลาวมันสำปะหลังสำเร็จรูป (Cassava Flour Mix)
-
เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “แป้งทอดกรอบทาสุโกะ (Tasuko)” นวัตกรรมฟลาวมันสำปะหลัง ไม่มีกลูเตน ไม่มีผงชูรส ทำให้อาหารเมนูทอด อร่อย และกรอบนานถึง 40 นาที เจาะกลุ่มคนรักสุขภาพ-ของทอด
-
เปิดตัวผลิตภัณฑ์กลุ่มพร้อมทาน “บราวนี่อบกรอบ ทาสุโกะ (Tasuko) รส “Sea Salt”ตอบโจทย์กระแสการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ และรองรับตลาดในกลุ่มผู้ที่แพ้กลูเตน
-
เริ่มผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฟลาวมันสำปะหลังด้วยกำลังการผลิต 100 ตันต่อวัน
-
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ด้วยมูลค่าทางการตลาดรวม 9,394 ล้านบาท (ณ ราคาเสนอขาย IPO) และได้เงินจากการระดมทุน (ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายหลักทรัพย์) รวมทั้งสิ้น 2,742.7 ล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มของบริษัท รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ นับเป็นก้าวสำคัญของบริษัทที่จะเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานจากการมีฐานะการเงินที่เข้มแข็งขึ้น เพื่อเร่งการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต
-
บริษัทได้รับใบอนุญาตชั่วคราวจากกรมสรรพสามิตให้สามารถจำหน่ายเอทานอลเกรดอุตสาหกรรมในประเทศ
-
ปรับโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัท จากรูปแบบเดิมซึ่งเป็น Assel-based Structure หรือแยกตามประเภททรัพย์สิน เป็นการจัดโครงสร้างตามกลุ่มธุรกิจ (Business-based Structure) โดยบริษัทได้จัดกลุ่มและโอนย้ายทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแต่ละประเภทไปอยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันด้วยวิธีการโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer) และการโอนกิจการบางส่วน (Partial Business Transfer) การปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดปริมาณรายการระหว่างกันและเพื่อให้ผลประกอบการของแต่ละธุรกิจสะท้อนอยู่ในงบการเงินของแต่ละบริษัทอย่างเหมาะสม โดยสินทรัพย์หลักที่มีการโอนย้ายภายในกลุ่มบริษัท ได้แก่
- ลานรับซื้อมันสำปะหลัง
- ที่ดินและโรงงานผลิตเอทานอล
- ที่ดินและโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง
- บ่อบำบัดน้ำใช้จากกระบวนการผลิต
- โรงผลิตก๊าซชีวภาพ และโรงไฟฟ้า
บริษัทลงทุนปรับปรุงระบบบำบัดน้ำใช้จากกระบวนการผลิตเอทานอลให้ครบวงจร และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเพิ่มเทคโนโลยีระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) เพื่อลดระยะเวลาการบำบัดน้ำใช้ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้เร็วขึ้น
-
ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์จากกระทรวงเกษตร อาหารและกิจการชนบทแห่งประเทศเกาหลีใต้ (Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs - MAFRA)
-
ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองสินค้าเกษตรอินทรีย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน
-
โรงงานเอทานอล ได้รับใบรับรอง ISO 14001:2015 จาก SGS United Kingkom Ltd.
-
กลุ่มผู้ถือหุ้นปรับโครงสร้างการถือหุ้น โดย
- บริษัท บีบีจีไอ จำกัด เข้าถือหุ้นแทน BCP
- กลุ่มครอบครัวโควสุรัตน์และผู้ก่อตั้งเดิม 5 ราย เปลี่ยนจากการถือหุ้นในนามบุคคลเป็นการถือหุ้นในนามนิติบุคคลผ่านบริษัท เค พลัส โฮลดิ้ง จำกัด และ บริษัท เอสทีเค แคปปิตอล จำกัด
-
บริษัทแปรสภาพจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นจากหุ้นละ 1,000 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท พร้อมกับเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจำนวน 1,174,286,000 บาท จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 2,740,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 3,914,286,000 บาท เพื่อรองรับการออกและเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)
-
ได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001:2015 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และ ISO 45001:2018 และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (มาตรฐานใหม่แทน OHSAS 18001)
-
ผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ญี่ปุ่น (Japanese Agricultural Standard: Organic JAS mark)
-
โรงงานแป้งมันสำปะหลังได้รับใบรับรอง ISO 9001:2015 จาก United Registrar of Systems
-
โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ CLBR ได้รับใบรับรอง ISO 9001:2015 จาก SGS United Kingdom Ltd.
-
บริษัทเข้าเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC : Collective Action Against Corruption)
-
บริษัทเริ่มผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง
-
ผลิตภัณฑ์เแป้งมันสำปะหลังออร์แกนิคได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ USDA organic (U.S.Department of Agriculture) โดยอยู่ภายใต้การบริหารและควบคุมของหน่วยงาน National Organic Program (NOP) สหรัฐอเมริกา
-
โรงผลิตก๊าซชีวภาพได้รับใบรับรอง ISO 9001: 2015 จาก United Registrar of Systems
-
โรงงานผลิตเอทานอลได้รับใบรับรอง ISO 9001:2015 จาก SGS United Kingdom Ltd.
-
เพิ่มสายการผลิตแป้งมันสำปะหลังจากเดิม 1 สายการผลิตเป็น 2 สายการผลิต โดยมีกำลังการผลิตสายละ 350 ตันต่อวัน รวมกำลังการผลิต 700 ตันต่อวัน
-
โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ CLBR เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 78,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและเป็นพลังงานทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการอบแป้งมันสำปะหลัง
-
ปรับปรุงสายการผลิตแป้งมันสำปะหลัง (สายการผลิตที่ 1) และขยายกำลังการผลิตจาก 300 ตันต่อวันเป็น 350 ตันต่อวัน
-
โรงผลิตก๊าซชีวภาพระบบ MUR เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ซึ่งใช้น้ำที่ผ่านการใช้ในกระบวนการผลิตเอทานอลเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 98,000 ลบ.ม. ต่อวัน และนำไปแปลงเป็นพลังงานความร้อนเพื่อใช้หมุนเวียนภายในโรงงานผลิตเอทานอล
-
บริษัทลงนามบันทึกความเข้าใจในการลงทุนโครงการก่อสร้างเอทานอลสายการผลิตที่ 2 กับ OSIC
-
UBS เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 6 ล้านบาท เป็น 70 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโรงผลิตก๊าซชีวภาพด้วยระบบ CLBR สำหรับนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแป้งมันสำปะหลัง และใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้หมุนเวียนภายในโรงงาน
-
โรงงานผลิตเอทานอลได้รับใบรับรอง ISO 9001:2008 จาก SGS United Kingdom Ltd.
บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) เริ่มผลิตและจำหน่ายเอทานอลเชิงพาณิชย์
-
บริษัท ไทยออยล์ เอทานอล จำกัด ("TET" และบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "BCP")) เข้าร่วมลงทุนในโรงงานผลิตเอทานอลของบริษัท โดยบริษัทนำเงินเพิ่มทุนที่ได้รับมาใช้ในการก่อสร้าง
-
UBG เริ่มดำเนินการผลิตและจำหน่ายก๊าซชีวภาพและผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพเชิงพาณิชย์
-
บริษัทฯ เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล สายการผลิตที่ 1 ขนาดกำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน
-
โรงงานผลิตก๊าซชีวภาพระบบ UASB ได้รับใบรับรอง ISO 9001:2008 จาก United Registrar of Systems
-
เริ่มผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังเชิงพาณิชย์ และเริ่มผลิตก๊าซชีวภาพ โดยสามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เฉลี่ย 36,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งนำกลับไปแปลงเป็นพลังงานความร้อนทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการอบแป้งมันสำปะหลัง
-
UAE เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 830 ล้านบาทเป็น 1,210 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
-
UBE เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 600 ล้านบาท เป็น 1,990 ล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล
-
UBE เข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ UAE และ UBG จากกลุ่มผู้ก่อตั้ง
-
โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังได้รับใบรับรอง ISO 9001:2008 จาก United Registrar of Systems
-
เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง ขนาดกำลังการผลิต 300 ตันแป้งต่อวัน
-
เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซชีวภาพด้วยระบบ UASB เพื่อรองรับน้ำใช้จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลัง
UBA เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 250 ล้านบาท เป็น 830 ล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง
-
จดทะเบียนก่อตั้ง บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด (มหาชน) UBE เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2550 โดยมีทุนจดทะเบียนแรกเริ่ม 600 ล้านบาท เพื่อผลิตและจำหน่ายเอทานอล ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพจากผลิตผลทางการเกษตร
-
จัดตั้งบริษัท อุบล ไบโอก๊าซ จำกัด (UBG) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2550 ด้วยทุนชำระเริ่มแรก 60 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตก๊าซชีวภาพ
จัดตั้งบริษัท อุบลเกษตรพลังงาน จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท อุบลไบโอเกษตร จำกัด หรือ UBA) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 250 ล้านบาท เพื่อผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง